top of page

บทบาทหน้าที่ฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและยา

            ฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารและยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา รับผิดชอบงานตามนโยบายของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา    และภารกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข  โดยมีกฎหมายที่ต้องดูแลทั้งสิ้น 9 ฉบับ ได้แก่

   

  1. พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510

  2. พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522

  3. พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 

  4. พระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ.2533  

  5. พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 

  6. พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551 

  7. พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558  

  8. พระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2559

  9. พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562

 

โดยมีกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ คือ การควบคุม กำกับดูแล สถานประกอบการและผลิตภัณฑ์ก่อนออกสู่ท้องตลาด เพื่อลดความเสี่ยงและตรวจสอบมาตรฐาน   การตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพ  หลังการออกสู่ท้องตลาด  รวมถึงการโฆษณา เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยและความคุ้มค่า สมประโยชน์  การเฝ้าระวังและรับเรื่องราวร้องทุกข์  เพื่อสกัดกั้นปัญหาที่เกิดจากผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว ไม่กระจายอันตรายต่อไปในวงกว้าง  การส่งเสริมผู้บริโภค เพื่อให้รู้จักสิทธิ์ ให้เลือกซื้อเลือกใช้บริการอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน  ขนาดกลาง  และขนาดเล็กให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพมาตรฐาน   ดังนี้

1.งานมาตรฐานผลิตภัณฑ์และสถานประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ

    1.1. การควบคุม กำกับ มาตรฐานสถานประกอบการ ผลิตภัณฑ์ และการโฆษณา ของอาหารและยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆ ก่อนออกสู่ตลาด (pre marketing control)

    1.2. การควบคุม กำกับ มาตรฐานสถานประกอบการ ผลิตภัณฑ์ และการโฆษณาของอาหารและยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆ หลังออกสู่ตลาด  (post marketing control)

    1.3. การส่งเสริมพัฒนาสถานประกอบการ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น

2.งานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ                                       

    2.1. การส่งเสริมพัฒนาศักยภาพผู้บริโภคและภาคีเครือข่าย

    2.2 วิชาการและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

    2.3 การรับเรื่องร้องเรียนด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ

    2.4 การบังคับใช้กฎหมาย

3.หน่วยตรวจสอบเคลื่อนที่เพื่อความปลอดภัยด้านอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ พื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง

   - ตรวจวิเคราะห์หาสารปนเปื้อนในอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพจากสถานที่ผลิตและสถานที่จำหน่ายในเขตพื้นที่รับผิดชอบ 7 จังหวัด

    ( จังหวัด    ตรัง พัทลุง สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา )

   -รณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ จัดนิทรรศการให้ความรู้ และสร้างกระแสความตื่นตัวในการคุ้มครองตนเองของผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภครู้จัก   การเลือกซื้อ เลือกบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพ เหมาะสม และปลอดภัย

bottom of page